Last updated: 30 ต.ค. 2567 | 81 จำนวนผู้เข้าชม |
กล้องสำรวจเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการวัดตำแหน่ง, วัดระยะทาง, วัดมุม และระดับความสูงในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อต้องการทราบ พื้นที่ ขอบเขต รูปร่าง ทิศทาง ตำแหน่ง ค่าระดับ และปริมาตร โดยหลักการทำงานของกล้องสำรวจจะแตกต่างกันตามชนิดของกล้องที่ใช้งาน โดยหลักการทำงานของกล้องสำรวจมีขั้นตอน ดังต่อไปนี้
การตั้งกล้องและปรับระดับน้ำ (Leveling) เริ่มด้วยการตั้งขาตั้งกล้องให้มั่นคง และทำการปรับระดับน้ำที่ติดอยู่กับกล้องเพื่อปรับให้กล้องอยู่ในแนวราบที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำมากขึ้น
การเล็งไปยังเป้าหมาย (Sighting) ใช้เลนส์กล้องในการเล็งเป้าหมายหรือจุดที่ต้องการวัด เช่น ปริซึมที่ตั้งอยู่ ณ จุดที่ต้องการวัดระยะ หรือมุม ซึ่งกระบวนการเล็งนี้ต้องใช้ความละเอียดในการเล็งให้ตรงกับเป้าหมาย
การวัด (Measurement) กล้องระดับ ใช้ในการวัดการวัดค่าระดับของจุดต่าง ๆ บนพื้นดิน เพื่อหาความสูงและระดับที่สัมพันธ์กันระหว่างจุดนั้น ๆ
กล้องวัดมุม ใช้ในการวัดมุมจะทำการวัดมุมในแนวราบและแนวดิ่ง ซึ่งเป็นการคำนวณหาค่าตำแหน่งที่สัมพันธ์กันของจุดต่างๆ โดยเฉพาะกากำหนดมุมที่แม่นยำสำหรับการวางผังพื้นที่ หรือโครงสร้าง กล้องประมวลผลรวม ใช้ในการวัดระยะทางใช้เทคโนโลยีคลื่นแสงหรือเลเซอร์ในการคำนวณระยะห่างระหว่างกล้องกับเป้าหมาย โดยมีความแม่นยำสูงและสามารถบันทึกค่าที่วัดได้ในตัวกล้องทันทีพร้อมมีโปรแกรมที่ช้วยในเรื่องการคำนวณ และสำรวจให้ง่ายขึ้น
การบันทึกข้อมูล (Data Recording) กล้องสำรวจ สามารถบันทึกค่าที่ได้จากการวัดในหน่วยความจำของตัวเครื่อง และบางรุ่นยังสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อนำข้อมูลไป ประมวลผล และสร้างแผนที่ได้โดยอัตโนมัติ
การนำข้อมูลไปใช้งาน ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสามารถนำไปใช้งานในการสร้างแผนที่, เขียนผัง, หรือกำหนดตำแหน่งสำหรับการก่อสร้าง โดยมีการคำนวณค่าระดับ, พื้นที่, ปริมาตร และมุมที่ต้องการตามความต้องการของแต่ละโครงกาาร
การใช้งานกล้องสำรวจจึงเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบและความรู้ความเข้าใจในเครื่องมือ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการสำรวจ
22 พ.ย. 2567
21 พ.ย. 2567
22 พ.ย. 2567